หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์

คณะกรรมการชุดย่อย

sent mail print

คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอิสระ จำนวน 3 ท่าน ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง
1
นายนพดล ธีระบุตรวงศ์กุล ประธานกรรมการตรวจสอบ
2
ดร. พัลลภา เรืองรอง กรรมการตรวจสอบ
3
นางสาวมาธุสร ศรีเกิด กรรมการตรวจสอบ

กรรมการตรวจสอบลำดับที่ 1 นายพนดล ธีระบุตรวงศ์สกุล เป็นกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ สามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ โดยมี นางสาวศิริพร นิลกล่ำ ทำหน้าที่ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ

  1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ
  2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายในตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าตรวจสอบภายในและหน่วยงานอื่นที่ใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับตรวจสอบภายใน
  3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดเหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  4. สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
  5. สอบทานและให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการปลอดคอร์รัปชั่น ในเรื่องความชัดเจนเหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัทฯ รวมทั้งมีกระบวนการนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติจริง ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  6. สอบทานการบริหารความเสี่ยงของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การพัฒนาอย่างยั่งยืน ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต และระบบการรับแจ้งเบาะแส
  7. พิจารณา คัดเลือกเสนอแต่งตั้ง เลิกจ้างบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระและเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนัก ก.ล.ต. เพื่อทำหน้าที่สอบบัญชีของบริษัทและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีรวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และกรณีพบเหตุการณ์หรือรายการผิดปกติที่มีนัยสำคัญให้ผู้สอบบัญชีรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
  8. จัดทำรายงานกำกับการดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยในรายงานประจำปีบริษัทซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ
  9. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ รวมถึงสอบทานและให้ความเห็นชอบกฎบัตรสำนักตรวจสอบภายในตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  10. สอบทานรายงานที่เกี่ยวข้องการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและกฎเกณฑ์บริษัท
  11. สอบทานกรอบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
  12. ประเมินผลการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  13. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

ทั้งนี้ กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ฉบับลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัทเปิดเผยบนเว็บไซต์ที่

เอกสาร
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ดาวน์โหลด

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน มีจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง
1
พลเอกชัยวัฒน์ สท้อนดี ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน / กรรมการอิสระ
2
รศ.ดร.เอกจิตต์ จึงเจริญ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน / กรรมการอิสระ
3
นายนพดล ธีระบุตรวงศ์กุล กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน / กรรมการอิสระ

โดยมี นางสาวศิริพร อ่อนดี ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

  1. ด้านการสรรหา
    1. พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้าง และองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย
    2. พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการในการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ให้สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    3. พิจารณาสรรหากรรมการที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และกระบวนการในการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือคณะกรรมการบริษัท แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงองค์ประกอบของคณะกรรมการ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ
    4. กำหนดแผนพัฒนากรรมการให้มีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ อย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่ ให้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    5. พิจารณาแผนการสืบทอดตำแหน่งของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
  2. ด้านการกำหนดค่าตอบแทน
    1. 2.1 กำหนดหลักเกณฑ์และทบทวนโครงสร้างค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย นำเสนอคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบ เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
    2. 2.2 พิจารณาหลักเกณฑ์ในการประเมินผล และกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป เพื่อนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท
    3. 2.3 พิจารณาโครงสร้างค่าตอบแทนของพนักงานและเสนอกรอบการปรับเงินเดือนและโบนัสประจำปีของกลุ่มบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
    4. 2.4 พิจารณาเงื่อนไขการเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ตามความเหมาะสมและให้ความเห็นชอบในกรณีที่บริษัทมีการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อกรรมการหรือพนักงาน ทั้งนี้ ต้องไม่มีกรรมการหรือพนักงานที่จะได้รับจัดสรรหลักทรัพย์เกินกว่าร้อยละห้า (5)
  3. ประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
  4. จัดทำรายงานการปฏิบัติงานเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี
  5. พิจารณาทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนปีละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็นและความเหมาะสม
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและที่กฎหมายกำหนด หรือตามความจำเป็นและเหมาะสม

ทั้งนี้ กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2564 บริษัทเปิดเผยเว็บไซต์ที่

เอกสาร
กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ดาวน์โหลด

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีจำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย

ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง
1
ผศ.ตร.สุลักษมณ์ ภัทรธรรมมาศ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
2
นายบุญชัย สุวรรณวุฒิวัฒน์ กรรมการบริหารความเสี่ยง
3
ดร.พัลลภา เรืองรอง กรรมการบริหารความเสี่ยง
4
นายธันยา หวังธำรง กรรมการบริหารความเสี่ยง

โดยมี นางขวัญดาว ดวงจันทร์ ทำหน้าที่ เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

  1. พิจารณากลั่นกรองนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของบริษัท ซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการลงทุน ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ความเสี่ยงในการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น รวมทั้งประเมิน ติดตาม ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติ
  2. กำหนดกลยุทธ์ แผนบริหารความเสี่ยง และทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงตลอดจนกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจของบริษัท
  3. กำกับดูแล จัดให้มีการดำเนินการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บริษัทมีกลยุทธ์และกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้

ทั้งนี้ กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 บริษัทเปิดเผยบนเว็บไซต์ที่

เอกสาร
กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ดาวน์โหลด

รับข่าวสาร

ติดตามและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจาก ผลธัญญะ ผ่านช่องทางอีเมลได้ที่นี่

เกี่ยวกับเรา

ติดต่อเรา

  • ที่อยู่ 1/11 หมู่ 3 ถ.ลำลูกกา ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
  • โทรศัพท์ (02) 791-0111 แฟกซ์ (02) 791-0100-3
  • อีเมล info@pdgth.com